• 27.07.2022 |
  • 4,293

ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ

ลักษณะเด่น
           ส่วนหัวแผ่กว้างออกด้านข้างยาวน้อยกว่า 1/3 ของความยาวตลอดตัว จมูกแต่ละข้างยาวน้อยกว่า ½ เท่าความกว้างของปาก ขอบหน้าส่วนหัวเป็นแนวโค้ง

 

ขนาด
           โตเต็มที่ได้สูงสุด ยาว 500 เซนติเมตร  โดยน้ำหนักสูงสุดที่เคยมีบันทึกไว้อยู่ที่ 400 กิโลกรัม

 

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายในประเทศไทย
           อยู่บริเวณใกล้ผิวน้ำจนถึงพื้นท้องทะเลตามชายฝั่งทะเลและแนวปะการัง จนถึงไหล่ทวีปที่ระดับความลึกน้ำ 200 เมตร ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

 

ชีววิทยา
           ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 20-50 ตัว ใช้เวลาตั้งท้อง 10-11 เดือน ปลาที่โตเต็มวัยมีอายุมากกว่า 20 ปี ปลาขนาดเล็กชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่วนใหญ่กินปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปลาหมึก เป็นอาหาร

 

สถานภาพ
           พ.ศ. 2561 IUCN Red List กำหนดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species, VU) 
           ปัจจุบัน ปลาฉลามหัวค้อนเรียบอยู่ระหว่างการเสนอเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อเข้าบรรจุตามกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (มาตรา7) 

 

เอกสารอ้างอิง
           ทัศพล กระจ่างดารา, 2560; ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, www.fishbase.org, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง; รายงานสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์สงวนและคุ้มครอง ฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564, www.wikipedia.org

ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้อง / Other Species Information
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
Rhincodon typus Smith, 1828
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาฉลามเสือดาว
Indo-Pacific Leopard Shark, Leopard Shark, Zebra Shark
Stegostoma tigrinum (Forster, 1781)
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
Winghead shark
Eusphyra blochii (Cuvier, 1816)
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
Scalloped hammerhead
Sphyrna lewini (Griffith & Smith, 1834)
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
Great hammerhead
Sphyrna mokarran (Rüppell, 1837)