• 27.07.2022 |
  • 2,599

ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน

ลักษณะเด่น
           ส่วนหัวแผ่กว้างออกด้านข้างยาวน้อยกว่า 1/3 ของความยาวตลอดตัว จมูกแต่ละข้างยาวน้อยกว่า ½ เท่าความกว้างของปาก ขอบหน้าส่วนหัวเป็นแนวโค้ง (โค้งมากในปลาขนาดเล็ก) 


 
ขนาด
           โตเต็มที่ 430 เซนติเมตร ขนาดทั่วไปที่พบ 60 – 250 เซนติเมตร

 

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายในประเทศไทย
           บริเวณใกล้ผิวน้ำถึงพื้นท้องทะเลตามชายฝั่งทะเลและแนวปะการัง จนถึงไหล่ทวีปที่ระดับความลึกน้ำ 1,043 เมตร อาจพบในแหล่งน้ำกร่อย ในเขตน่านน้ำไทยพบฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

 

ชีววิทยา
           ออกลูกเป็นตัวแบบ Viviparous ครั้งละ 12 – 41 ตัว ส่วนใหญ่กินปลา ปลาหมึก กุ้ง และปูเป็นอาหาร

 

สถานภาพ
           พ.ศ. 2561 IUCN Red List กำหนดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered Species, CR) 
           ปัจจุบัน ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงินอยู่ระหว่างการเสนอเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อเข้าบรรจุตามกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (มาตรา7) 

 

เอกสารอ้างอิง
           ทัศพล กระจ่างดารา, 2560; ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, www.fishbase.org, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง; รายงานสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์สงวนและคุ้มครอง ฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564, www.wikipedia.org

ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้อง / Other Species Information
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
Rhincodon typus Smith, 1828
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาฉลามเสือดาว
Indo-Pacific Leopard Shark, Leopard Shark, Zebra Shark
Stegostoma tigrinum (Forster, 1781)
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
Winghead shark
Eusphyra blochii (Cuvier, 1816)
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
Great hammerhead
Sphyrna mokarran (Rüppell, 1837)
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
Smooth hammerhead
Sphyrna zygaena (Linnaeus, 1758)