• 27.07.2022 |
  • 3,739

ปลาฉลามหัวค้อนยาว

ลักษณะเด่น
           ส่วนหัวแผ่กว้างออกทางด้านข้างมากเป็นแผ่นแคบยาวคล้ายปีกเครื่องบิน มีความยาว 40 -50 % ของความยาวตลอดตัว จมูกแต่ละข้างมีความยาวเกือบ 2 เท่าความกว้างของปาก ฟันมีขอบเรียบปลายเอียงและครีบหลังอันแรกสูงปลายโค้งขอบท้ายเว้าและมีจุดเริ่มต้นอยู่เหนือฐานครีบอก ลำตัวสีเทาหรือน้ำตาลเทา และด้านท้องมีสีขาว ปลายครีบหางตอนบนอาจมีสีดำ

 

ขนาด
           โตเต็มที่ 186 เซนติเมตร ขนาดที่พบทั่วไป 80 – 160 เซนติเมตร 

 

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายในประเทศไทย
           บริเวณใกล้ผิวน้ำจนถึงพื้นท้องทะเลตามชายฝั่งทะเล และแนวปะการังน้ำตื้นไม่เกินระดับความลึกน้ำ 30 เมตร อาจพบเข้ามาในแหล่งน้ำกร่อยตามปากแม่น้ำและป่าชายเลน ซึ่งในเขตน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

 

ชีววิทยา
           ออกลูกเป็นตัวแบบ Viviparous ครั้งละ 6 – 25 ตัว ส่วนใหญ่กินปลาขนาดเล็ก ปลาหมึก กุ้ง และปูเป็นอาหาร

 

สถานภาพ
           พ.ศ. 2563 IUCN Red List กำหนดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species, EN) 
           ปัจจุบัน ปลาฉลามหัวค้อนยาวอยู่ระหว่างการเสนอเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อเข้าบรรจุตามกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (มาตรา7) 


เอกสารอ้างอิง
           ทัศพล กระจ่างดารา, 2560; ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, www.fishbase.org, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง; รายงานสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์สงวนและคุ้มครอง ฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564, www.wikipedia.org

ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้อง / Other Species Information
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
Rhincodon typus Smith, 1828
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาฉลามเสือดาว
Indo-Pacific Leopard Shark, Leopard Shark, Zebra Shark
Stegostoma tigrinum (Forster, 1781)
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
Scalloped hammerhead
Sphyrna lewini (Griffith & Smith, 1834)
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
Great hammerhead
Sphyrna mokarran (Rüppell, 1837)
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
Smooth hammerhead
Sphyrna zygaena (Linnaeus, 1758)