• 27.07.2022 |
  • 1,867

ปลากระเบนราหูแนวปะการัง

ลักษณะเด่น
          ปากอยู่ด้านหน้า จะงอยปากมีแผ่นหนังขนาดใหญ่ที่งอเข้าหากัน ทำหน้าที่ในการช่วยดักแพลงก์ตอนให้เข้าสู่ปากได้ง่ายขึ้น มีแถบฟันที่กลางขากรรไกรล่าง จำนวนประมาณ 6 - 8 แถว พื้นที่ใกล้ส่วนหลังหัวจะมีแถบสีขาวเป็นแนวเฉียงตัดกับพื้นหลังสีดำเข้ม ทำให้ดูคล้ายกับรูปตัววาย (“Y”) ลำตัวส่วนท้ายมีครีบหลังขนาดเล็ก และหางยาวคล้ายแส้ แต่ไม่มีเงี่ยง
 
ขนาด
          สามารถโตได้ถึง 5.5 เมตรตามความกว้างแผ่นลำตัว แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีขนาดกว้างประมาณ 2.2 - 2.4 เมตร
 
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายในประเทศไทย
          อาศัยใกล้ผิวน้ำหรือใกล้พื้นท้องทะเลตามแนวปะการัง จนถึงในมหาสมุทรที่ระดับความลึกน้ำ 432 เมตร มีการอพยพเป็นระยะทางไกล เท่าที่เคยบันทึกได้ มีระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร ในเขตน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่ส่วนใหญ่พบในฝั่งอ่าวไทย
 
ชีววิทยา
          มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียว หรือรวมตัวกันเป็นฝูงขนาดเล็ก กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลัก และสัตว์ขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในน้ำ ปลากระเบนราหูยักษ์มีพฤติกรรมว่ายบริเวณผิวน้ำ และดำน้ำลึก โดยมักว่ายเข้ามาบริเวณใกล้กองหิน (Cleaning station) เพื่อทำความสะอาดร่างกาย ให้ปลาพยาบาลกำจัดปรสิตตามตัว 
          ออกลูกเป็นตัว แบบ Ovoviviparous ซึ่งเป็นการผสมภายในตัว แต่ไข่ที่ได้รับการผสมจะไม่ได้รับอาหารจากแม่ แต่อาศัยอาหารจากไข่แดงภายในตัวไข่ จนกระทั่งฟักออกมาเป็นตัว จึงออกจากท้องแม่ ซึ่งในการออกลูกแต่ละครั้งอาจมากกว่าครั้งละ 1 ตัว แต่โดยทั่วไปก็ครั้งละ 1 ตัว
          ปลากระเบนราหูแนวปะการังมีพฤติกรรมว่ายบริเวณผิวน้ำ และดำน้ำลึก โดยมักว่ายเข้ามาบริเวณใกล้กองหิน (Cleaning station) เพื่อทำความสะอาดร่างกาย ให้ปลาพยาบาลกำจัดปรสิตตามตัว เป็นปลาที่ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ และพบว่าเป็นประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์ในด้านการดำน้ำ
 
สถานภาพ
          พ.ศ. 2561 IUCN Red List กำหนดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species, VU) เนื่องจากมีแนวโน้มประชากรลดลง
          พ.ศ. 2557 ปลากระเบนราหูแนวปะการังถูกจัดอยู่ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
          พ.ศ. 2560 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species)
          พ.ศ. 2561 ปลากระเบนราหูแนวปะการังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยได้รับการประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561
 
เอกสารอ้างอิง
          ทัศพล กระจ่างดารา, 2560; ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาหนู) ที่พบในน่านน้ำไทยและน่านน้ำใกล้เคียง, www.fishbase.org, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง; รายงานสำรวจสถานภาพสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์สงวนและคุ้มครอง ฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564, www.wikipedia.org
กรอกฟอร์ม / Fill out the form
ดูตัวอย่าง / Preview
รายงานการพบเห็น / Sighting report

ชื่อกลุ่ม (Group Name)

กระเบน (Manta Ray)

ชื่อไทย (Thai Name)

ปลากระเบนราหูแนวปะการัง

ชื่อสามัญ (Common Name)

Alfred manta

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)

Mobula alfredi (Krefft, 1868)

อัพโหลดหลักฐานการพบเห็น / Upload proof of sighting
แนบไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอ/ Drag the image or video to upload
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information

ข้อมูลผู้ส่งรายงาน / Sender Information

ชื่อกลุ่ม (Group Name)

กระเบน (Manta Ray)

ชื่อไทย (Thai Name)

ปลากระเบนราหูแนวปะการัง

ชื่อสามัญ (Common Name)

Alfred manta

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)

Mobula alfredi (Krefft, 1868)

หลักฐานการพบเห็นสัตว์ทะเลหายาก / Evidence of sightings of Encounter
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information
วันที่รายงาน / Report Date :
รายละเอียดข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก/ Detail Encounter Information
ลองจิจูด / Longitude :
ละติจูด / Latitude :
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information
ชื่อ - นามสกุล*/ Name - Surname
เบอร์โทรศัพท์/Phone number
อีเมล/E-mail
ส่งข้อมูลรายงานเรียบร้อย
Report Data Success
สัตว์ทะเลหายาก / Endangered
วาฬสีน้ำเงิน
วาฬสีน้ำเงิน
Blue whale
Balaenoptera musculus (Linnaeus, 1758)
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
Rhincodon typus Smith, 1828
ปลากระเบนราหูยักษ์
ปลากระเบนราหูยักษ์
Giant manta
Mobula birostris (Walbaum, 1792)
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
Great hammerhead
Sphyrna mokarran (Rüppell, 1837)
ปลาฉนากยักษ์
ปลาฉนากยักษ์
Common sawfish
Pristis pristis (Linnaeus, 1758)
ปลาฉนากเขียว
ปลาฉนากเขียว
Longcomb sawfish
Pristis zijsron Bleeker, 1851
ปลาโรนิน
ปลาโรนิน
Bowmouth guitarfish
Rhina ancylostomus Bloch & Schneider, 1801
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
Winghead shark
Eusphyra blochii (Cuvier, 1816)
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาฉลามเสือดาว
Zebra shark
Stegostoma tigrinum (Forster, 1781)
ปลาฉนากปากแหลม
ปลาฉนากปากแหลม
Pointed sawfish
Anoxypristis cuspidata (Latham, 1794)
ปลากระเบนปีศาจหางหนาม
ปลากระเบนปีศาจหางหนาม
Devil fish
Mobula mobular (Bonnaterre, 1788)
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
Smooth hammerhead
Sphyrna zygaena (Linnaeus, 1758)
ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง
ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง
Smoothtail mobula
Mobula thurstoni (Lloyd, 1908)
ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น
ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น
Shortfin devil ray
Mobula kuhlii (Müller & Henle, 1841)
ปลาฉนากฟันเล็ก
ปลาฉนากฟันเล็ก
Smalltooth sawfish
Pristis pectinata Latham, 1794
ปลากระเบนปีศาจหางเคียว
ปลากระเบนปีศาจหางเคียว
Chilean devil ray
Mobula tarapacana (Philippi, 1892)
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
Scalloped hammerhead
Sphyrna lewini (Griffith & Smith, 1834)