• 27.07.2022 |
  • 8,382

วาฬสีน้ำเงิน

ลักษณะเด่น
           วาฬสีน้ำเงิน ส่วนหัวมีสีน้ำเงินสม่ำเสมอ ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำเงินอมเทา ส่วนท้องสีจางกว่าเล็กน้อย ด้านหลังและด้านข้างมีลายสีน้ำเงินหรือเทาอ่อนมีลักษณะเป็นดวงๆ เหมือนรอยด่าง ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวกว้างคล้ายตัวยู (U-shaped) เมื่อมองจากด้านบน มีสันกลางหัว 1 สัน มีช่องหายใจขนาดใหญ่ 2 รู มีซี่กรอง 260 - 400 คู่ แต่ละซี่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะของซี่กรองค่อนข้างหยาบ มีร่องใต้คาง 60 - 88 ร่อง ยาวเกือบถึงสะดือ ครีบหลังมีขนาดเล็กอาจมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหรือลาดเอียง ปลายครีบแหลมหรือกลมมน ฐานครีบหลังตั้งอยู่ค่อนไปทางหาง คอดหางหนา ครีบข้างเพรียวยาว ปลายครีบแหลม และมีสีอ่อนกว่าส่วนอื่นของครีบ มีความยาวได้ถึงร้อยละ 15 ของความยาวลำตัว ครีบหางกว้างประมาณ 1 ส่วน 4 ของความยาวลำตัว มีร่องกึ่งกลางระหว่างแพนหาง

 

ขนาด
           โตเต็มที่มีความยาว 29 เมตร น้ำหนัก72-135ตัน หนักที่สุด 180 ตัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลูกแรกเกิดยาว 7-8 เมตร อายุยืน 80-90 ปี

 

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายในประเทศไทย
           ในทะเลไทยเคยพบวาฬสีน้ำเงินเพียง 3 ครั้ง พบเห็นบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมด โดยพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ต่อมาพบเข้ามาเกยตื้นที่เกาะลิบง จ.ตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2556 ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2560  พบที่หมู่เกาะสิมิลัน จ. พังงา

 

ชีววิทยา
           วาฬสีน้ำเงิน เป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจัดเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่ได้รับความสำคัญจากนานาประเทศ เนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล จึงมีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ จัดเป็นทรัพยากรร่วมกันของภูมิภาคและระดับโลก ประชากรปลาวาฬสีน้ำเงินโตเต็มวัยทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 5,000-15,000 ตัว
           ลูกวาฬสีน้ำเงินหย่านมเมื่ออายุ 8 เดือน วัยเจริญพันธุ์อายุ 8 - 10 ปี ตัวเมียมีวงรอบการตกลูกทุก 2 - 3 ปี ในฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 10 – 12 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว 
           อาหารของวาฬสีน้ำเงินคือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น เคยสายพันธุ์ต่างๆ (Krill) วิธีการกินอาหารโดยการอ้าปากขยายร่องใต้คางให้ใหญ่ขึ้น และพุ่งเข้าหาเหยื่อโดยมักจะตะแคงตัวหรือหงายท้อง โดยกินอาหารทั้งผิวน้ำและที่ระดับความลึกถึง 300 เมตร สามารถดำน้ำได้นานถึง 36 นาที ว่ายน้ำ 3 - 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 7 – 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อมีสิ่งรบกวน วาฬสีน้ำเงินใช้เสียงใน การส่งสัญญาณสื่อสารกันในระยะทางไกล เป็นเสียงแบบอินฟราโซนิค (Infra Sonic) 17 – 20 เฮิร์ตซ์ ซึ่งต่ำเกินไปสำหรับมนุษย์ที่จะได้ยิน วาฬสีน้ำเงินจะโผล่ส่วนหัวและช่องหายใจเหนือผิวน้ำมากกว่าวาฬชนิดอื่นๆ 

 

สถานภาพ 
           พ.ศ. 2561 IUCN Red List กำหนดสถานภาพให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species, EN)
           ปัจจุบัน วาฬสีน้ำเงินอยู่ระหว่างการเสนอเป็นสัตว์ป่าสงวน เพื่อเข้าบรรจุตามกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (มาตรา6) 

 

เอกสารอ้างอิง
           กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561; คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย, www.wikipedia.org

กรอกฟอร์ม / Fill out the form
ดูตัวอย่าง / Preview
รายงานการพบเห็น / Sighting report

ชื่อกลุ่ม (Group Name)

วาฬ (Whale)

ชื่อไทย (Thai Name)

วาฬสีน้ำเงิน

ชื่อสามัญ (Common Name)

Blue whale

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)

Balaenoptera musculus (Linnaeus, 1758)

อัพโหลดหลักฐานการพบเห็น / Upload proof of sighting
แนบไฟล์รูปภาพหรือวิดีโอ/ Drag the image or video to upload
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information

ข้อมูลผู้ส่งรายงาน / Sender Information

ชื่อกลุ่ม (Group Name)

วาฬ (Whale)

ชื่อไทย (Thai Name)

วาฬสีน้ำเงิน

ชื่อสามัญ (Common Name)

Blue whale

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)

Balaenoptera musculus (Linnaeus, 1758)

หลักฐานการพบเห็นสัตว์ทะเลหายาก / Evidence of sightings of Encounter
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information
วันที่รายงาน / Report Date :
รายละเอียดข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก/ Detail Encounter Information
ลองจิจูด / Longitude :
ละติจูด / Latitude :
ข้อมูลการพบสัตว์ทะเลหายาก / Encounter Information
ชื่อ - นามสกุล*/ Name - Surname
เบอร์โทรศัพท์/Phone number
อีเมล/E-mail
ส่งข้อมูลรายงานเรียบร้อย
Report Data Success
สัตว์ทะเลหายาก / Endangered
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
Rhincodon typus Smith, 1828
ปลากระเบนราหูยักษ์
ปลากระเบนราหูยักษ์
Giant manta
Mobula birostris (Walbaum, 1792)
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
ปลาฉลามหัวค้อนใหญ่
Great hammerhead
Sphyrna mokarran (Rüppell, 1837)
ปลาฉนากยักษ์
ปลาฉนากยักษ์
Common sawfish
Pristis pristis (Linnaeus, 1758)
ปลาฉนากเขียว
ปลาฉนากเขียว
Longcomb sawfish
Pristis zijsron Bleeker, 1851
ปลาโรนิน
ปลาโรนิน
Bowmouth guitarfish
Rhina ancylostomus Bloch & Schneider, 1801
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
ปลาฉลามหัวค้อนยาว
Winghead shark
Eusphyra blochii (Cuvier, 1816)
ปลาฉลามเสือดาว
ปลาฉลามเสือดาว
Zebra shark
Stegostoma tigrinum (Forster, 1781)
ปลาฉนากปากแหลม
ปลาฉนากปากแหลม
Pointed sawfish
Anoxypristis cuspidata (Latham, 1794)
ปลากระเบนปีศาจหางหนาม
ปลากระเบนปีศาจหางหนาม
Devil fish
Mobula mobular (Bonnaterre, 1788)
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
ปลาฉลามหัวค้อนเรียบ
Smooth hammerhead
Sphyrna zygaena (Linnaeus, 1758)
ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง
ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง
Smoothtail mobula
Mobula thurstoni (Lloyd, 1908)
ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น
ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น
Shortfin devil ray
Mobula kuhlii (Müller & Henle, 1841)
ปลาฉนากฟันเล็ก
ปลาฉนากฟันเล็ก
Smalltooth sawfish
Pristis pectinata Latham, 1794
ปลากระเบนราหูแนวปะการัง
ปลากระเบนราหูแนวปะการัง
Alfred manta
Mobula alfredi (Krefft, 1868)
ปลากระเบนปีศาจหางเคียว
ปลากระเบนปีศาจหางเคียว
Chilean devil ray
Mobula tarapacana (Philippi, 1892)
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
ปลาฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน
Scalloped hammerhead
Sphyrna lewini (Griffith & Smith, 1834)